ผู้เขียน หัวข้อ: ตรวจอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง: สายตายาว (Hypermetropia/Hyperopia/Farsightedness)  (อ่าน 3 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 402
    • ดูรายละเอียด
ตรวจอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง: สายตายาว (Hypermetropia/Hyperopia/Farsightedness)

สายตายาว พบมากในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ มักพบว่าเป็นกันหลายคนในครอบครัวเดียวกัน

ในบ้านเราพบว่าเด็กประมาณร้อยละ 15-20 เป็นสายตายาว

สาเหตุ

เนื่องจากกระบอกตาสั้นไป หรือไม่เป็นเพราะกระจกตาหรือแก้วตามีกำลังในการหักเหแสงน้อยไป ทำให้จุดรวมแสงของภาพไม่ว่าวัตถุนั้นจะอยู่ใกล้ไกลขนาดไหน ตกไปอยู่ข้างหลังของจอตา ทำให้มองเห็นไม่ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลามองวัตถุที่อยู่ใกล้ จะมัวมากกว่ามองวัตถุที่อยู่ไกล

ผู้ที่มีสายตายาว มักจะมีความผิดปกติมาแต่กำเนิด แต่จะแสดงอาการเมื่อโตขึ้น

อาการ

ผู้ป่วยจะมองวัตถุที่อยู่ใกล้ไม่ชัด บางคนอาจมีอาการมองไกล ๆ ไม่ชัดร่วมด้วย ในรายที่เป็นไม่มาก หรือสามารถปรับแก้วตาให้มีความโค้งและหนามากขึ้น (accommodation) ทำให้แสงหักเหตกที่จอตาพอดี ก็อาจมองเห็นชัดเช่นคนปกติ ผู้ป่วยอาจไม่ทราบว่าตัวเองมีสายตายาวซ่อนอยู่

บางครั้งผู้ป่วยอาจมีอาการปวดเมื่อยตา (ตาล้าตาเพลีย) และปวดศีรษะหลังจากใช้สายตาเพ่งมองวัตถุที่อยู่ใกล้ (เช่น อ่านหนังสือ มองจอคอมพิวเตอร์) เป็นเวลานาน ๆ และอาการจะทุเลาเมื่อหยุดใช้สายตา ในเด็กเล็กอาจมีอาการตาเขร่วมด้วย

ภาวะแทรกซ้อน

มีปัญหาในการอ่านหนังสือ หรือการมองวัตถุที่อยู่ใกล้ อาจทำให้มีอาการปวดเมื่อยตาและปวดศีรษะจากการเพ่งมอง และอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายจากการมองเห็นไม่ชัด (เช่น ขณะขับรถ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร)

ในเด็กเล็กอาจมีอาการตาเขร่วมด้วย และถ้าปล่อยทิ้งไว้ อาจทำให้ตาข้างหนึ่งพิการจนแก้ไขไม่ได้ผล


การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยด้วยการใช้เครื่องตรวจวัดสายตาและการตรวจสุขภาพตาซึ่งมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน และอาจวัดสายตาด้วยการทดลองให้มองผ่านเลนส์หลาย ๆ ขนาดเพื่อหาขนาดที่ให้ความคมชัดที่สุด

บางครั้งแพทย์อาจให้ยาหยอดตาขยายรูม่านตา เพื่อเปิดมุมกว้างสำหรับการตรวจภายในลูกตาได้ละเอียด อาจทำให้เห็นแสงจ้า หรือรู้สึกตาพร่ามัวอยู่สักพักใหญ่ และจะหายดีหลังจากยาหมดฤทธิ์


การรักษาโดยแพทย์

ถ้ามีปัญหาในการอ่านหนังสือ เขียนหนังสือหรือการทำงานที่ต้องใช้สายตาดูวัตถุที่อยู่ใกล้ตา แพทย์จะทำการแก้ไขด้วยการวัดสายตา และตัดแว่นชนิดเลนส์นูนให้ผู้ป่วยใส่หรือ ให้ใส่เลนส์สัมผัส (คอนแทคเลนส์) จะช่วยให้เห็นชัดและหายปวดตา

เมื่ออายุมากขึ้นอาจต้องเปลี่ยนแว่นทุก 2-3 ปี เนื่องจากกำลังในการหักเหแสงของตาจะอ่อนลงตามอายุ

บางรายอาจรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น การทำเลสิก (LASIK) เพื่อปรับความโค้งของกระจกตาให้เหมาะสม, การฝังเลนส์ตาเทียม (intraocular lens implant/IOL)

การดูแลตนเอง

หากสงสัย เช่น มีอาการมองวัตถุที่อยู่ใกล้ไม่ชัด มีอาการตาล้าหรือปวดมึนศีรษะเวลาเพ่งมองอะไรนาน ๆ ควรปรึกษาแพทย์

เมื่อตรวจพบว่าเป็นสายตายาว ควรดูแลตนเอง ดังนี้

    รักษา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ 
    ติดตามรักษากับแพทย์ตามนัด
    ควรดูแลสุขภาพตา โดยการปฏิบัติตัว ดังนี้

      - ไม่สูบบุหรี่

      -  บริโภคอาหารสุขภาพ โดยลดของมัน ของหวาน ของเค็ม และกินผัก ผลไม้ และปลาให้มาก ๆ

      -  ลดการสัมผัสรังสีอัลตราไวโอเลตโดยการสวมแว่นตากันแดดเวลาออกกลางแดดจ้า

      -  ใส่แว่นสายตาที่เหมาะกับระดับสายตา

      -  ใส่อุปกรณ์ป้องกันตาเวลาทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บของตา (เช่น เล่นกีฬา ตัดหญ้า  ทาสี หรือการสัมผัสสารเคมี)

      -  ควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (ถ้าเป็นโรคเหล่านี้)

      -  ป้องกันอาการตาล้า โดยการพักตาเวลาใช้สายตามาก (เช่น อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ ดูจอคอมพิวเตอร์) ทุก ๆ 20 นาที ให้มองวัตถุที่อยู่ห่างระยะ 20 ฟุต นาน 20 วินาที

     -  ทำกิจกรรมที่ต้องใช้สายตาในที่ ๆ มีแสงสว่างที่มากพอ

     -  หมั่นตรวจเช็กสุขภาพตา (ตามที่แพทย์แนะนำ)


ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    มีอาการสายตายาวมากขึ้น หรือใส่แว่นสายตาแล้วยังมองเห็นไม่ชัด
    มีอาการตาล้า หรือปวดศีรษะบ่อย
    สงสัยมีภาวะแทรกซ้อนหรือความผิดปกติอื่น ๆ เช่น ปวดศีรษะมาก ปวดตามาก ตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน เห็นแสงวาบคล้ายฟ้าแลบหรือแสงแฟลช หรือเห็นจุดดำคล้ายเงาหยากไย่หรือแมลงลอยไปมา เป็นต้น

การป้องกัน

ยังไม่มีวิธีป้องกันที่ได้ผล เนื่องจากเกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างตาที่เป็นมาแต่กำเนิด

ข้อแนะนำ

1. สายตายาว บางครั้งอาจวินิจฉัยได้ยาก หรือวินิจฉัยผิดว่าเป็นสายตาสั้น ดังนั้น ทางที่ดีควรให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ตรวจวินิจฉัย

2. ผู้ที่เป็นสายตายาว ควรหมั่นตรวจเช็กสายตาเป็นประจำ เพราะอาจต้องเปลี่ยนแว่นบ่อยเมื่ออายุมากขึ้น

3. ในปัจจุบันมีวิธีใหม่ ๆ ในการผ่าตัดรักษาสายตายาว นอกจากการผ่าตัดร่วมกับการใช้เลเซอร์
(เช่น การทำเลสิก) แล้ว ยังมีวิธีการผ่าตัดฝังเลนส์ตาเทียม (intraocular lens implant/IOL) โดยแพทย์จะผ่ากระจกตาเป็นรอยเล็ก ๆ แล้วฝังเลนส์ตาเทียมเข้าไปในตาของผู้ป่วย ซึ่งช่วยให้จุดรวมแสงของภาพของวัตถุที่อยู่ไกลตกตรงจอตา ทำให้มองเห็นได้ชัดขึ้น

อย่างไรก็ตาม วิธีเหล่านี้มีข้อดี ข้อเสีย ข้อห้ามและข้อควรระวังต่าง ๆ กันไป ควรปรึกษาจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้ได้ความชัดเจน ว่าวิธีไหนที่เหมาะกับสภาพของผู้ป่วยแต่ละราย

 

Tage: โฟสฟรี ประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี google โพสต์ฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายบ้าน ลงประกาศขายที่ดินฟรี ลงประกาศขายคอนโดฟรี ประกาศฟรี ขายฟรี ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google